ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับผู้เข้าชมเว็บของเรา

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555





การเขียนเล่าประวัติ




              ความลับในการเขียนประวัติส่วนตัวให้ไม่มีที่ติ คือการระบุความสามารถให้ตรงกับงานที่ต้องการ เป็นการตัดแต่งประวัติความสามรถส่วนตัวให้เหมาะสมกับงานนั้นๆโดยตรง การเขียนประวัติส่วนตัวขึ้นมานั้น ต้องมีข้อมูลของสถาบันที่คุณเกี่ยวข้องด้วย เช่น การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ความสำเร็จที่เคยได้รับ ทักษะความสามารถและกิจกรรมต่างๆที่เคยเข้าร่วม เมื่อกรอกรายละเอียดที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลให้เหมาะสมกับคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่งงานที่ตนเองต้องการสมัคร 


นี่คือตัวอย่างประวัติส่วนตัวแต่ละประเภทเพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการอ้างอิง
  1. ประวัติส่วนตัวแบบเรียงตามลำดับเวลา
    • เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานนั้นๆ และยังต้องการทำงานที่มีลักษณะคล้ายกับงานเดิมอยู่
    • นายจ้างส่วนใหญ่ต้องการรายละเอียดของผู้สมัครที่มีรากฐานมาจากความเป็นจริงและเข้าใจได้ง่าย
    • เน้นความสำคัญในการแสดงรายละเอียดด้านประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้อง
    • แสดงประวัติข้อมูลที่จำเป็นสำหรับงานนั้นๆตามลำดับเวลา เริ่มจากตำแหน่งงานในปัจจุบัน ไล่ย้อนหลังไปตามลำดับ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำเร็จที่เคยได้รับจากตำแหน่งงานที่ผ่านมา
  2. ประวัติส่วนตัวด้านการทำงาน
    • เป็นข้อแนะนำที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา และผู้สมัครที่ต้องการเปลี่ยนสาขาอาชีพ
    • ช่วยในการเชื่อมโยงประสบการณ์ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องการ แต่สามารถนำทักษะเหล่านั้นมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้
    • จัดลำดับประวัติการทำงาน ระบุความสามารถพิเศษ และความสำเร็จที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานที่ตนเองสมัคร ส่วนมากประกอบไปด้วย ชื่อบริษัทและรายละเอียดเกี่ยวกับความสำเร็จด้านการทำงานโดยสรุป สิ่งสำคัญคือ อย่าลืมกรอกข้อมูลด้านประสบการณ์ในการทำงานโดยย่อตามลำดับเวลา
  3. ประวัติส่วนตัวแบบผสมผสาน
    • เป็นการพยายามผสมผสานสิ่งที่ดีที่สุดจากการเขียนประวัติส่วนตัวแบบตามลำดับเวลา และแบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยการนำเอาเอาทั้งประสบการณ์ในการทำงานเรียงตามลำดับเหตุการณ์ และทักษะรวมทั้งความสำเร็จในด้านนั้นๆ มาหลอมรวมกัน มุ้งเน้นที่ทักษะความสามารถและความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงาน
    • แม้ว่านายจ้างบางท่านจะค้นหาประวัติของผู้สมัครที่ไม่เยิ่นเหย่อ เน้นย้ำและซับซ้อน แต่การเขียนประวัติส่วนตัวประเภทนี้จะกลายเป็นข้อได้เปรียบสำหรับผู้ที่มีทักษะในการปรับแต่งข้อมูลดี
  4. ประวัติส่วนตัวแบบออนไลน์
    • เป็นวิธีที่คนมากมายใช้ในการกรอกข้อมูลลงในช่องว่างแบบฟอร์มประวัติส่วนตัวทางอินเตอร์เน็ต และส่งใบสมัครงานออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ จ๊อบสตรีทดอทคอม
    • ประวัติส่วนตัวประเภทนี้จะถูกส่งไปทางอีเมล์ หรือเปิดดูข้อมูลได้บนอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเพื่อให้ตรงกับสิ่งที่กำหนดไว้ในระบบการค้นหาผู้สมัคร
    • วิธีนี้ได้รับความนิยมและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการสมัครงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสะดวกสบาย
    • สามารถแก้ไขข้อมูลโดยเฉพาะได้ และข้อมูลส่วนอื่นๆก็ยังคงอยู่เช่นเดิม รวมทั้งสามารถเน้นข้อความสำคัญได้โดยเพิ่มขนาดตัวอักษรให้หนาขึ้น หรือทำเป็นตัวอักษรเอียง
เคล็ดลับในการเขียนประวัติส่วนตัว
  1. ทราบจุดประสงค์ของตนเอง
    • ตำแหน่งงานลักษณะใดที่ตนเองต้องการ? และทักษะความสามารถใดที่จำเป็นสำหรับงานนั้นๆ?
    • จดจำไว้ว่า คุณกรอกประวัติส่วนตัวเพื่อให้ผู้มีหน้าที่สัมภาษณ์พิจารณา และประวัติคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า คุณคือบุคคลที่พวกเขาต้องการ
  2. รวบรวมข้อมูลของตนเองทั้งหมด
    • เรียงลำดับทักษะความสามารถเฉพาะตัวของคุณเอง ประวัติการศึกษา กิจกรรมนอกหลักสูตรและในหลักสูตรการทำงาน ประวัติการทำงาน การอบรมสัมมนาต่างๆ ความสำเร็จที่เคยได้รับ ฯลฯ
    • ระบุวัน/ เวลาให้ถูกต้อง ตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก เช่น งานอดิเรก สิ่งที่สนใจ อาชีพของพ่อแม่เป็นต้น
    • เพิ่มเติมรายละเอียดสำคัญไว้ใต้หัวข้อที่กำหนดไว้ เช่น การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ความสำเร็จที่เคยได้รับ ทักษะความสามารถ เกียรติประวัติการทำกิจกรรม
  3. เริ่มต้นโดยระบุชื่อและรายละเอียดในการติดต่อกลับ
    • ชื่อ- นามสกุลจริง, ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หมายเลขโทรศัพท์บ้าน และมือถือ, อีเมล์
    • เพิ่มเติมสถานะภาพตามกฎหมาย เพศ เชื้อชาติ ชื่อ-สกุลและอาชีพของผู้ปกครอง วันเกิด ฯลฯ
  4. รายละเอียดการทำงานที่ผ่านมา
    • เริ่มจากตำแหน่งงานที่ทำล่าสุด ไล่ถอยหลังลงไปตามลำดับ พร้อมด้วย ชื่อสถานประกอบการ ระยะเวลาที่ทำงาน และตำแหน่งที่รับผิดชอบ
    • ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ประกาศไว้ เพื่อให้รายละเอียด ข้อมูลทั่วไป และหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมให้สอดคล้องกับงานที่สมัคร
    • ใช้คำศัพท์ที่สำคัญ: รับผิดชอบในการทำงาน ประสานงาน การจัดเตรียม การจัดการ การตรวจสอบ การนำเสนอ ความสำเร็จที่ได้รับ สิ่งที่ได้จากการทำงาน การวิเคราะห์ ความรอบคอบ ฯลฯ
    • เน้นความสำคัญของความรับผิดชอบและความสำเร็จที่เคยได้รับจากการทำงาน
  5. ข้อมูลด้านการศึกษา
    • ขึ้นต้นด้วยระดับการศึกษาสูงสุดมาจนถึงต่ำสุด รวมทั้งผลการเรียน เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม
    • ระบุสาขา หรือหลักสูตรการศึกษา เช่น จิตวิทยา นิติศาสตร์ หรือสารสนเทศ เป็นต้น
    • เรียงลำดับกิจกรรมต่างๆที่เคยเข้าร่วม เช่น ชุมนุม/ สโมสร ตำแหน่งที่รับผิดชอบ และระบุสิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ถ้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร มิฉะนั้น ก็มองข้ามงานเหล่านี้ไป
  6. ทักษะความสามารถ
    • ระบุทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาต่างประเทศ (และภาษาถิ่นอื่นๆ) รวมทั้งทักษะในการอ่านและการเขียน และทักษะในการอื่นๆที่จำเป็น (การพูดต่อที่ชุมชน การนำเสนอ ฯลฯ)
  7. บุคคลหรือหลักฐานอ้างอิง
    • ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไป แต่ในกรณีที่ต้องการบุคคลเพื่ออ้างอิง ควรเลือกผู้ที่รู้จักกับคุณเป็นการส่วนตัว และสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทำให้นายจ้างเกิดความประทับใจในตัวคุณ
    • อย่าลืมให้ข้อมูลการติดต่อเกี่ยวกับบุคคลอ้างอิง
    • ควรแจ้งรายละเอียดเหล่านี้ให้บุคคลที่คุณใช้อ้างอิงทราบ เพราะพวกเขาอาจจะได้รับการสอบถามจากผู้สัมภาษณ์ ดังนั้นควรให้พวกเขาเตรียมตัวล่วงหน้า แจกสำเนาประวัติส่วนตัวของคุณ เพื่อให้พวกเขาทราบว่าคุณมีความสามารถด้านใดและเคยทำสิ่งใดมาบ้าง
  8. ข้อกำหนดอื่นๆ
    • จัดรูปแบบให้กระชับและเห็นเด่นชัด
      • ประวัติส่วนตัวควรมีความยาวไม่เกิน 30 วินาทีในการอ่าน ดังนั้น ต้องมีการสรุปให้กระชับและตรงประเด็น
      • ประวัติส่วนตัวควรมีความยาวไม่เกินสองหน้ากระดาษ ใช้ตัวอักษรแบบ ไทม์ นิว โรมัน หรือ การามอนด์ ขนาด 12 เพื่อให้อ่านง่าย ในกรณีที่มีประสบการณ์ที่ครอบคลุมลักษณะอาชีพจึงควรมีความยาวถึงสามหน้ากระดาษ
      • ใช้อักษรแบบเอียงหรือแบบหนา เพื่อเน้นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก หรือเปลี่ยนประเด็นเท่านั้น
      • เลือกเครื่องพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีร่องรอย จุดเลอะเลือนตัวอักษรไม่ชัดเจนหรืออ่านไม่ออก

        ใช้กระดาษที่มีคุณภาพ สีขาว ขนาด เอสี่ เท่านั้น ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด เช่น สีแดงหรือสีชมพู เป็นต้น
    • มีความซื่อสัตย์
      • ไม่ควรยกย่องตนเองจนเกินควร เชื่อมั่นว่าข้อมูลที่ให้ไปนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงและสามารถตรวจสอบได้ อย่าโกหกหรือให้ข้อมูลเท็จ
    • ตรวจสอบตัวสะกดและไวยากรณ์ให้ถูกต้อง
      • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีคำผิด และการใช้ไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้องในประวัติส่วนตัวของคุณ
      • ขอร้องผู้ที่เชื่อถือได้ ให้ช่วยตรวจหาข้อผิดพลาดในประวัติส่วนตัวของคุณ
      • อย่าเชื่อมั่นในการสะกดคำศัพท์ของตนเอง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยตรวจสอบคำผิด
      • สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พยายามอ่านทวนประวัติของตนเองเพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ที่สุด
    • มีการใช้สำนวนที่น่าเชื่อถือ
      • หน้าที่ของคำ “สำนวนที่ไพเราะ” ซึ่งปรากฏในงานเขียนจะช่วยให้คำอธิบายของคุณชัดเจนขึ้น


ตัวอย่าง  วีดิโอ